หมดปัญหาบ้าน/อาคารทรุดด้วยเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

Cover Website - BoredPile-C2-เพิ่มแถบคาดCover Website - BoredPile-C1-เพิ่มแถบคาดslide1

ปัญหาบ้าน/อาคารทรุดนั้นเป็นสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะถือเป็นเรื่องยากและเสี่ยงกับอันตรายหากเกิดเหตุขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันคือการมีรากฐานที่แข็งแรง โดยเราจะขอยกเสาเข็มเจาะระบบแห้งซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงมากล่าวถึงในบทความนี้ 

คุณสมบัติของผู้รับจ้างทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

  • จะต้องเป็นบริษัทหรือห้างๆ ที่ได้จดทะเบียนรับทำการในเรื่องการทำเสาเข็มเจาะมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี จนถึงวันทำสัญญาการก่อสร้าง
  • บริษัทฯ, ห้างฯ ของผู้รับจ้างทำเสาเข็มเจาะจะต้องมีวิศวกรโยธา อย่างน้อยประเภทสามัญวิศวกร ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของเสาเข็มเจาะ, ชั้นดินต่างๆ เป็นอย่างดี ซึ่งจะต้องผ่านงาน ด้านเสาเข็มเจาะมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • บริษัทฯ, ห้างฯ ผู้รับจ้างทำเสาเข็มเจาะ ต้องมีรายงานรับรองผลการทดสอบน้ำหนักบรรทุก ปลอดภัย ของเสาเข็มเจาะมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 งาน ซึ่งดำเนินการทดสอบโดยบริษัทวิศวกรที่ ปรึกษา ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง และมีผลงานการดำเนินการจัดทำเสาเข็มเจาะกับส่วนราชการ หรือเอกชน แล้วไม่น้อยกว่า 3,000 ต้น

ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

1. การเจาะสำรวจดิน (Boring Test) หากในแบบแปลนไม่ได้กำหนดเงื่อนไขผู้รับจ้างต้องทำการเจาะสำรวจดิน (Borug Test) ตามเอกสารของกองแบบแผนเลขที่ 800 ค.ศ. 29 จำนวน 4 แผ่น ของกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่งและจุดทดสอบที่จะทำการเจาะสำรวจดิน ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิศวกรผู้ทำการเจาะสำรวจดิน โดยผลการทดสอบจะต้องครอบคลุม พื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด โดยจำนวนชุดทดสอบต้องไม่น้อยกว่า 2 จุด และให้ใช้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2.5 เท่า และแจ้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาก่อนดำเนินการก่อสร้าง อย่างน้อย 3 ชุด

2. การเลือกใช้ความยาวเสาเข็มเจาะ โดยต้องใช้ความยาวของเสาเข็มเจาะระบบแห้ง ตามรายงานผลการเจาะสำรวจดิน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยขอมเสาเข็มเจาะ และการทรุดตัวของชั้นดิน เพื่อไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้าง โดยการกำหนดความยาวของเสาเข็มเจาะให้กำหนดความลึกปลายเสาเข็ม (Pile Tip) จากระดับดินเดิมขณะที่ทำการเจาะสำรวจดิน โดยให้แบบรายการคำนวณการรับน้ำหนักของ เสาเข็ม, การเสริมเหล็กเย็นและการเสริมเหล็กปลอก แล้วแจ้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณา ก่อนดำเนินการก่อสร้างอย่างน้อย 3 ชุด

3. การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะ 

 3.1 ผู้รับจ้างต้องทำการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุก (Lasil Tet ของเสาเข็มเจาะ 1 ถึง 2 อัน ด้วยวิธีการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม น้ำหนักบรรทุกที่ทดสอบต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย โดยทดสอบตามมาตรฐานของ วสท. (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) หรือมาตรฐานอื่นใดที่เขียถือได้ เช่น ASTM D1E43-81 เป็นต้น คณะกรรมการตรวจการ จ้างมีสิทธิสั่งให้ผู้รับจ้างท่า Quick Loading Test จนกว่าเข็มทรุดตัวอย่างรวดเร็ว แต่ไม่เกิน 3 เท่า ของน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย

 3.2 เงื่อนไขการกำหนดการทดสอบ

 3.2.1 ให้ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม 1 ต้น ในกรณีที่สภาพชั้นดินของหลุมเข็มเจาะ ทุกหลุมไม่แตกต่างกัน

  3.2.2 ให้ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม 2 ต้น ในกรณีที่สภาพชั้นดินของหลุมเข็มเจาะ บางหลุมแตกต่างกันมาก หรือความจำเป็นที่วิศวกรเห็นสมควร

 3.3 หากเข็มเจาะไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยได้ตามแบบกำหนด เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องเสนอวิธีการ และแก้ไข เช่น เสริมเสาเข็มเจาะและขยายฐานราก เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อมิให้โครงสร้างเสียความมั่นคงแข็งแรง 

 ****การส่งผลการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

 ผู้รับจ้างส่งผลการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะอย่างน้อย 3 ชุด ให้ คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจสอบและพิจารณาเห็นชอบ ก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยรายงาน ผลการทดสอบจะต้องสรุปและรับรองผลโดยวิศวกรโยธาระดับวุฒิวิศวกร

 4. รูเจาะและท่อชั่วคราว

 4.1 การเจาะ การตอก หรือการใส่ท่อชั่วคราว ต้องทำด้วยความระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือน หรือทำให้เกิดความชำรุดเสียหายแก่เสาเข็ม ฐานราก หรือสิ่งก่อสร้างข้างเคียง หากมีการเสียหายเกิดขึ้น ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น

4.2 เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อชั่วคราว ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มที่ระบุไว้ หลังจากทําการหล่อคอนกรีตแล้ว

 4.3. ให้ใส่ท่อชั่วคราว จนมีความลึกเพียงพอที่จะป้องกันการพังทลาย หรือการบีบตัวของชั้นดินอันอาจ ทำให้ขนาดของรูเจาะเปลี่ยนไป+ ผนังภายในรูเจาะและภายในท่อชั่วคราว ต้องสะอาด จะปล่อยให้วัสดุอื่นๆ หรือสิ่งสกปรกร่วงหลุดลงไปในรูเจาะไม่ได้

 5. การเทคอนกรีต

  • กับรูเจาะต้องแห้งสะอาด และได้ระดับความต้องการ ถ้ากันรูเจาะมีน้ำต้องทำให้แห้งเสียก่อน จึงจะ เทคอนกรีตได้ หรืออาจใช้กรรมวิธีสำหรับเทคอนกรีตในน้ำ หรือกรรมวิธีอื่นตามหลักวิชา
  • การเทคอนกรีตในรูเจาะ ให้กระทำโดยวิธีการที่เหมาะสม และไม่ทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตเกิด การแยกตัว (Scuregation)
  • การเทคอนกรีตเสาแต่ละต้น จะต้องเทต่อเนื่องกันตลอด โดยหยุดชะงักไม่ได้ ในกรณีที่มีเหตุผิดปกติ ทำให้เทคอนกรีตไม่ต่อเนื่องกัน โดยคอนกรีตส่วนที่เทไว้ก่อนแข็งตัวต้องทำเสาเข็มใหม่ 
  • ขณะเทคอนกรีตจะต้องอัดคอนกรีตในรูเจาะให้แน่น โดยใช้ Pressure หรือเครื่องเขย่าคอนกรีตหรือวิธีการอื่นใด ตามหลักวิชาวิศวกรรม
  • ในขณะเทคอนกรีต หรือขณะถอนท่อชั่วคราว ต้องป้องกันมิให้น้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดิน หรือเศษสิ่งของใด ๆ ไหลหรือล้นเข้าไปในรูเจาะได้
  • การถอนปลอกเหล็ก ต้องถอนด้วยความระมัดระวัง มิให้ดินทางด้านข้างพังทลายลงมาได้ 
  • เหล็กเสริมต้องจัดให้อยู่กลาง ไม่ชิดไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป อันเป็นเหตุให้เหล็กสัมผัสดินโดยตรง
  • รูเจาะและเสาเข็ม เมื่อหล่อเสร็จแล้วจะคลาดเคลื่อนจากศูนย์กลางที่กำหนดไว้ได้ไม่เกิน 10 เซนติเมตร สำหรับแนวดิ่งของเสาเข็มเจาะจากหัวเสาเข็มเจาะถึงปลายเสาเข็มเจาะ จะคลาดเคลื่อน ได้ไม่เกิน 0.5% ของความยาวของเสาเข็มเจาะ
  • ให้เทคอนกรีตของเสาเข็มจนเลยระดับหัวเสาเข็มที่ต้องการ ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อสกัด คอนกรีตส่วนที่เลยระดับหัวเสาเข็ม ซึ่งเป็นคอนกรีตส่วนที่ไม่แข็งแรงออก

คุณสมบัติของวัสดุสำหรับเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

วัสดุเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการทำระบบเสาเข็มเจาะระบบแห้งเพราะจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจน โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

คุณสมบัติของคอนกรีต 

  •  ให้ใช้อัตราส่วนผสมของคอนกรีต อีก ปูนซีเมนต์ ทราย หิน เท่ากับ 1-2-3) โดยปริมาตร และ คอนกรีตมีกำลังอัดประลัย ที่อายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า 280 กก. / ตร.ซม. (ทดสอบโดยแห่งลูกบาศก์ ขนาด 15 x 15 x 15 ซม.) หรือไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. (ทดสอบโดยแท่งทรงกระบอกขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม.)
  • ให้ใช้ซีเมนต์ประเภทปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ (Portland Cement Type 1) ตามมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 15–2547

  •  ค่าความยุบตัวของคอนกรีต ให้อยู่ระหว่าง 5.00 – 12.50 ซม. การพิจารณาใช้ค่าความยุบตัวของคอนกรีต ให้คำนึงถึงการป้องกันการแยกตัวของคอนกรีตขณะที่ทำการเท
  • ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง สงสัยว่าคอนกรีตที่ใช้เสาเข็มต้นหนึ่งอันใด มีคุณสมบัติไม่ตามที่กำหนด คณะกรรมการตรวจการจ้างมีสิทธิสั่งให้ทำการเจาะตัวอย่างคอนกรีต ของเสาเข็มต้นนั้น ๆ ไปทำการทดสอบกำลังอัดได้ 
  • ในกรณีที่สถานที่ก่อสร้างสามารถใช้คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ตามมาตรฐาน มอก.213 – 2552 ได้ วิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้พิจารณาให้ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ในการก่อสร้างโดยกำลังอัดประลัยของคอนกรีตจะต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด
  •  เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างทำเสาเข็มเจาะ ต้องทำการทดสอบแห่งตัวอย่างคอมเร็ตเพื่อหากำลังอัดประลัย ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบแปลนหรือในรายการประกอบแบบของกองแบบแผน

คุณสมบัติเหล็กเสริม

  •  ขนาดและชนิดของเหล็กเสริม ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบแปลน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 0.5 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็มเจาะ
  • คุณสมบัติของเหล็กเสริมให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 24 – 2548

(เหล็กข้ออ้อย) และ มอก. 2541 (เหล็กแหลม) หรือตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 

  • เหล็กปลอกของเสาเข็มเจาะกำหนดให้ใช้เหล็กปลอกเขียวขนาดไม่น้อยกว่า RB 6 มม. ระยะห่างปลอกเกลียวไม่เกิน 0.20 ม.

การบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

 ผู้รับจ้างต้องทำการบันทึกรายงานการทำเสาเข็มทุกต้น และต้องส่งให้คณะกรรมการตรวจการ จ้าง (ผ่านผู้ควบคุมงานการก่อสร้าง) ภายใน 15 วัน หลังจากที่ทำเสาเข็มเจาะเสร็จ ยกเว้นรายงานผล การทดสอบกำลังอัดคอนกรีต และต้องจัดให้มีบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะไว้ ณ ที่สำนักงาน ชั่วคราวในบริเวณก่อสร้าง เพื่อตรวจสอบรายงานที่ต้องบันทึก มีดังนี้

 1.  หมายเลขกำกับเสาทุกต้น

 .2 วันเวลา ที่เจาะ เวลาเทคอนกรีต เวลาถอนท่อชั่วคราวจนแล้วเสร็จ

 3. ระดับดินปลายเสาเข็ม (Datum Line) ความยาวของท่อชั่วคราวจากระดับผิวดินหรือระดับที่กำหนด

 4. ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เสาเข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง

 5. ให้ผู้รับจ้างเก็บรายละเอียด และตัวอย่างของชั้นดิน ณ จุดที่ทำเสาเข็มทดสอบ (ส่วนหลุมอื่น ๆ ทุกหลุม ให้ทำรายงานลักษณะดินของรูเสาเข็มเจาะ) โดยบรรจุตัวอย่างดินแต่ละชั้นในหลอดแก้ว หรือกล่องพลาสติกใส ขนาดพอเหมาะ พร้อมทั้งระบุความลึกของชั้นดินให้ชัดเจน หลอดแก้ว หรือกล่องพลาสติกใส ซึ่งบรรจุตัวอย่างดินให้เก็บไว้ ณ ที่สำนักงานชั่วคราวในบริเวณก่อสร้าง และเมื่อเสร็จงานแล้ว ให้ส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง

การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

 1. ให้ทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะทุกต้น โดยวิธี Pile Integrity Test หรือวิธีอื่น ที่วิศวกรกำหนดให้ การทดสอบและการวิเคราะห์ผลการทดสอบว่าเสาเข็มอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หรือไม่

2. ให้ทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะต้นที่นำมาใช้เป็นเสาเข็มสมออีกครั้ง หลังจาก ทดสอบน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะเสร็จแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าเสาเข็มเจาะยังอยู่ในสภาพ สมบูรณ์ หรือไม่

 3. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะจะต้องทำโดยบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างฯ ที่มี ความชำนาญการในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่เชื่อถือได้ ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้างได้เห็นชอบแล้ว และต้องลงนามรับรองและสรุปผลในรายงานโดยวิศวกรโยธาระดับวุฒิวิศวกร 

4. หากผลการทดสอบปรากฏว่าเสาเข็มต้นใดไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ผู้รับจ้างจะต้องเสนอวิธีการ แก้ไข เช่น เสริมเสาเข็มเจาะและขยายฐานราก เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อมิให้โครงสร้างเสียความ มั่นคงแข็งแรง โดยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างทั้งสิ้น

Tel : 086-0000-032

LINE ID : sk0000032

Facebook : Boredpile.co

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Scroll Up