กฎหมายว่าด้วยเรื่องเสาเข็มเจาะ

Cover Website - BoredPile-C2-เพิ่มแถบคาดCover Website - BoredPile-C1-เพิ่มแถบคาดslide1

ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจดำเนินการเสาเข็มเจาะนั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่ว่าด้วยการก่อสร้างอาคาร ถ้าไม่ศึกษาแล้วอาจจะก่อให่เกิดปัญหาตามในภายหลัง วันนี้ทางเวบไซต์เราขอนำเสนอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหลักเกรฑ์การก่อสร้างมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

ประกาศกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๙ ข้อ ๔.๘ บัญญัติไว้ดังนี้
 
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภค
 


๔.๘ การทำฐานรากอาคาร
 
๔.๘.๑ การทำฐานรากอาคารโดยใช้เสาเข็มด้วยการเจาะ กดหรือตอกและการขุดดิน ผู้ดำเนินการจะกระทำได้เฉพาะในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ถ้าจะกระทำในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายช่าง และได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อน

๔.๘.๒ ปั้นจั่น เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้สำหรับตอกเสาเข็ม หรือเจาะดินเพื่อทำเสาเข็ม ต้องจัดให้มีการป้องกัน เสียง ควัน และการฟุ้งกระจายของเศษดินขณะดำเนินการโดยใช้ผ้าใบทึบหรือวัสดุอย่างอื่นหรือเทียบเท่า ขึงรอบบริเวณมีความสูงอย่างน้อย ๒ ใน ๓ ของความสูงของปั้นจั่นที่ใช้ตอกเสาเข็ม หรือเจาะดิน
 
๔.๘.๓ ถ้าตำแหน่งของเสาเข็มอยู่ห่างจากอาคารต่างเจ้าของหรือต่างผู้ครอบครองน้อยกว่า ๓๐ เมตร ให้ใช้ระบบเสาเข็มที่มีการเจาะดินออกบ้างหรือทั้งหมด
 
๔.๘.๔ การทำเข็มพืด การทำเสาเข็ม และการขุดคู จะต้องกระทำห่างจากเขตที่ดินข้างเคียงหรือต่างเจ้าของ ไม่น้อยกว่า ๘๐ เซนติเมตร หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือต่างเจ้าของเป็นหนังสือ
 
๔.๘.๕ ดินที่ขุดออกจากการก่อสร้างฐานราก ต้องจัดให้มีที่กองโดยเฉพาะและต้องปิดหรือปกคลุมหรือเก็บในพื้นที่ที่ปิดล้อม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือประชาชนที่ใช้ที่สาธารณะหมวด ๔
 
บทลงโทษ
 
—————-
 


๑๐. ผู้ฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้ต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติต่างๆ ดังนี้
 
๑๐.๑ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
 
๑๐.๒ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕
 
๑๐.๓ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
 
๑๐.๔ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๒ และ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๐
 
๑๐.๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕
 
๑๐.๖ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ อ่านแล้วคงอุ่นใจกันขึ้นมากนะครับ หวังว่าทุกท่านคงจะดำเนินการเสาเข็มเจาะกันได้อย่างสบายใจนะครับ

Scroll Up